วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทความวิชาการ  เล่มที่  3  เทคโนโลยีและนวัตกรรม
การนำซอฟต์แวร์รหัสเปิด  ()pen  Source  Software)  มาใช้กับองค์กร
1.               บทนำ
ในปัจจุบันองค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน  จะมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้สนับสนุน  ซึ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารกับผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการ  และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เหมาะสมกับงาน
จากแผนการตลาดที่ดีเยี่ยมของบริษัทผู้ผลิตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์ชั้นนำของโลก  ทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนมากติดอยู่กับการใช้งานระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่เคยชินจำเป็นต้องจัดเตรียมระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อใช้ในการทำงาน  ซึ่งทั้งระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์  องค์การหรือหน่วยงานที่มีนักพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์จึงหันมาให้ความสนใจกับซอฟต์แวร์รหัสเปิดเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายนั้นและยังสามารถพัฒนาให้เหมาะสมกับงานหรือธุรกิจได้อย่างดีอีกด้วย
2.               รหัสเปิด (Open  Source)
รหัสเปิดมีแนวคิดและพัฒนาโดยอาศัยความร่วมมือของนักพัฒนาทั่วโลกเพื่อโลกสร้างซอฟต์แวร์คุณภาพดีขึ้น  น่าเชื่อถือขึ้น  ยืดหยุ่นขึ้น  ค่าใช้จ่ายน้อยลง  ไม่ต้องยึดติดกับผู้ขายรายใด  และผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มีสิทธิ์ในการใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างแท้จริง
ปัจจุบันหน่วยงานหรือองค์กรที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนเรื่องรหัสเปิด  เช่น  SIPA  (Software  Industry  Promotion  Agency)  หรือสมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย  ได้จัดสัมมนาและการอบรม  พร้อมทั้งจัดทำซอฟต์แวร์ประเภทรหัสเปิดแจกจ่ายหรือจำหน่ายในราคาถูกให้กับหน่วยงานและบุคคลที่สนใจ  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถทางด้านรหัสเปิดมากขึ้น
3.               ข้อดีของรหัสเปิด
1.             เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์  สามารถ  Download  ทาง  Internet  ได้
2.             มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานจากนักพัฒนาระบบทั่วโลก  หากพบปัญหาในการใช้งานหรือมีส่วนที่ต้องการเพิ่มขึ้น  สามารถส่งข้อคิดเห็นให้ทีมพัฒนาระบบได้
3.             เปิดโอกาสให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ให้เหมาะกับงานได้โดยผู้ใช้งาน
4.             มีตัวเลือกซอฟต์แวร์มาก  เนื่องจากกระแส  Open  Source  ในปัจจุบันมาแรงมากจึงมีทีมพัฒนาและนักพัฒนาหน้าใหม่เกิดขึ้นเยอะมาก  กลุ่มคนหรือบุคคลเหล่านี้จึงได้ปล่อยซอฟต์แวร์ที่พัฒนานี้ให้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
5.             มีความเสถียรสูง
6.             โครงสร้างการทำงานของซอฟต์แวร์มีความทนทานและยืดหยุ่นสูง
7.             แหล่งข้อมูลสำหรับนักพัฒนาปัจจุบันมีมากขึ้น

4.              การใช้งานรหัสเปิด
การนำซอฟต์แวร์รหัสเปิดมาใช้งานในปัจจุบัน  มีอยู่หลากหลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้งานในองค์กรโดยตรง  หรือการพัฒนาโซลูชันด้วยต้นเอง  การนำซอฟต์แวร์รหัสเปิดไปใช้งานนี้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  PC  และเครื่องคอมพิวเตอร์  Server  ได้ เนื่องจากซอฟต์แวร์รหัสเปิดได้ถูกพัฒนามาจากหลาย ๆ  หน่วยงาน  การนำไปใช้งานจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของงานกับ  Version  ของซอฟต์แวร์ด้วย
5.              การใช้งานบนเว็บ  (Web  Based  Application)
การใช้งานบนเว็บ  ถือว่าเป็นรหัสเปิดที่มีความนิยมสูง  จากความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบเครื่อข่าย  Internet  ความสะดวกสบายในการเข้าใช้งานจากทุกสถานที่ที่สามารถเชื่อมต่อ  Internet  ได้ เนื่องจากสามารถทำงานผ่านทางโปรแกรมประเภท  Web  Browsers  และการเรียนรู้โปรแกรมภาษาที่ไม่ซับซ้อนมากนัก  ทำให้มีนักพัฒนาให้ความสนใจกับการใช้งานบนเว็บจำนวนมาก
6.               Web  Open  Source 
1.        Web  Open  Source  คือ  code  ที่ทีมนักพัฒนาได้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้ผู้สนใจสามารถ  Download  ไปใช้ได้ฟรี
2.       ข้อดีของ  Web  Open  Source  คือสามารถนำไปใช้งานได้ง่าย  และมีประสิทธิภาพสูง  ไม่ต้องออกแบบพัฒนาเอง  มีโมดูลต่าง ๆ  ให้เลือกใช้ติดตั้งและดูแลรักษาง่าย
3.       มีข้อเสียของ  Web  Open  Source  คือข้อจำกัดในการใช้งานระบบที่อาจจะไม่ตรงตามความต้องการทั้งหมด  มีคสามารถไม่ครบ  และมีรูปแบบหรือระบบที่ไม่ซ้ำกับเว็บอื่น
4.       ประเภทของ  Web Open  Source  สามารถแบ่งออกได่หลายประเภทตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

7.               การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิดในองค์กร
จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าซอฟต์แวร์รหัสเปิด  สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรหรือหน่วยงานได้ในหลาย ๆ ส่วน  เริ่มตั้งแต่การใช้งานระบบปฏิบัติการที่เป็นรหัสเปิด เช่น  Linux  หรือ  Ubantu  ทั้งใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  และลูกข่าย  หรือการใช้งาน  Open  Office  แทน  Microsoft  Office  จนถึงการใช้งาน  Web  Open  Source  ที่สามารถ  Download  ได้จาก  Website  ของทีมงานผู้พัฒนา  หรือการพัฒนา  Web  Bases  Applications  ขึ้นมาเองให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
8.               ปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์รหัสเปิด
1.        การศึกษาและพัฒนารหัสเปิด  แม้รหัสเปิดจะได้รับความนิยม  แต่กลุ่มผู้ที่นิยมและกลุ่มนักพัฒนายังน้อยมาก  และนักพัฒนาบางคนหันไปทำรหัสเปิดในทางการค้า  เมื่อพัฒนาแล้วไม่ได้นำไปเผยแพร่ต่อ  ทำให้นักพัฒนาหน้าใหม่ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาและพัฒนารหัวเปิดพอสมควร
2.       ทีมงานหรือนักพัฒนารหัสเปิดเป็นปัจจัยสำคัยในการศึกษาและพัฒนารหัสเปิด  พร้อมทั้งนำเสนอข้อดีข้อเสียของรหัสเปิดให้กับองค์กร
3.       ความเคยชินของผู้ใช้งานซอฟต์แวร์  เมื่อต้องเปลี่ยนมาใช้รหัสเปิด  จะไม่เคยชินในการทำงาน  ทำให้งานที่ดำเนินการอยู่ล่าช้า  ส่วนนี้ถูกใช้เป็นเหตุผลทำให้หลาย ๆ หน่วยงานต้องกลับมาใช้ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ต่อไป
จากปัจจัยเบื้องต้นที่กล่าวมา  ทำให้หน่วยงานสนใจในรหัสเปิดได้เพียงใช้งานซอฟต์แวร์รหัสเปิดที่ถูกพัฒนามาสำเร็จแล้ว  เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของลิขสิทธิ์ที่ใช้งานอยู่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น