วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบำบัดน้ำเสียกับกลยุทธ์ รู้เขา-รู้เรา
บทนำ
            การพูดถึงระบบบำบัดน้ำเสีย จะมีตัวละครหลัก 3 ส่วน ได้แก่ ผู้ออกแบบระบบ ผู้ก่อสร้างระบบ และผู้เดินระบบ ในส่วนของผู้ชมได้แก่ เจ้าของโครงการ ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ(กฎหมาย/ข้อกำหนด/มาตรฐานต่างๆ) และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ของตัวละครทั้ง 3 ตัว
            ผู้ออกแบบออกแบบระบบได้ดีแต่ผู้ก่อสร้างก่อสร้างระบบไม่ดีระบบก็ไม่สามารถทำงานได้ดี
            ผู้ออกแบบออกแบบระบบไม่ดี ถึงผู้ก่อสร้างจะสร้างได้ดีเพียงใด ระบบก็ยากที่จะทำงานได้ดี
            ระบบออกแบบดี ก่อสร้างดี แต่ผู้เดินระบบไม่ดี ระบบก็ไม่สามารถทำงานได้ดี
            ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียจะทำการได้ดีมีประสิทธิภาพ ระบบนั้นจะต้องมีการออกแบบที่ดีก่อสร้างที่ดีและมีผู้เดินระบบที่ดีด้วย โดยจะขออธิบายว่า การออกแบบดี ก่อสร้างดี เดินระบบดี เป็นอย่างไร โดยใช้กลยุทธ์สงครามจากนักปราชญ์ท่านหนึ่งที่ได้กล่าวไว้ว่า รู้จักรศัตรูและรู้จักรตนเอง รบร้อยครั้งก็ชนะร้อย         ครั้ง แต่งานด้านบำบัดน้ำเสียคงไม่มีสงครามและศัตรูเลยขอเปลี่ยนเป็น รู้จักรเขา-รู้จักรเราแทน รู้เขาก็คือ รู้จักรคนอื่นที่ไม่ใช่เรา รู้จักรเราคือรู้จักรตนเอง
 ผู้ออกแบบ
            ผู้ออกแบบ เปรียบเหมือนผู้เริ่มต้นงาน เพราะเป็นส่วนที่คิดวางแผนและออกแบบ สามารถเลือกระบบน้ำเสียแบบใดหรือแก่ไขในส่วนใดก็สามารถทำได้โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงแบบน้อยที่สุดเพราะยังไม่ได้ก่อสร้างจริงแบบทั้งหมดยังอยู่ในกระดาษหรือคอมพิวเตอร์แต่จะสูญเสียเวลา   
          รู้เขา
            - ผู้ออกแบบหากจะทำการออกแบบระบบใดระบบหนึ่ง ต้องมีการพิจารณาว่าระบบที่ออกแบบไปจะไปก่อสร้างที่ไหน มีระบบไฟฟ้าสาธารณูปโภคเป็นอย่างไร เช่น ระบบจะไปก่อสร้างในที่หางไกลไฟฟ้าในพื้นที่ไม่เพียงพอ ดังนั่นระบบที่จะออกแบบจะต้องเป็นระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยและใช่เท่าที่จำเป็น
            - ทิศทางลมบริเวณก่อสร้างระบบบำบัดเป็นอย่างไร พัดไปในทิศทางที่มีชุมชนอยู่ท้ายลมหรือไม หากเจอปัญหาด้านนี้ก็อาจต้องย้ายที่ตั้งระบบไปอยู่บริเวณอื่นและต้องส่งผลกระทบด้านกลิ่นให้น้อยที่สุดแล้วควรปลูกพืชบังแนวลมบริเวณระบบบำบัด
            - จุดทิ้งน้ำหลังบำบัด จะอยู่ที่ไหนหรือใกล้จุดสูบน้ำดิบเผื่อผลิตน้ำประปาของชุมชนหรือไม่ คงไม่ดีแน่หากเป็นเช่นนั้นควรเลือกสถานที่หรือจุดบำบัดน้ำทิ้งใหม่
            - ระบบจะก่อสร้างโดยใคร มีเครื่องจักรหรือเทคนิคก่อสร้างเพียงพอหรือไม่เพราะหากผู้รับเหมาไม่มีศักยภาพในการทำงานเพียงพอ แบบที่ออกไว้จะไม่สามารถทำงานได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงก่อสร้างเต็มไปหมดเพราะก่อสร้างตามแบบไม่ได้ หากผู้ออกแบบพิจารณาประเด็นนี้ไว้ก่อนคงไม่มีปัญหาในส่วนนี้
            - ใครจะเป็นคนเดินระบบหลังก่อสร้างเสร็จ ถึงแม้จะมีคู่มือระบบและการอบรมวิธีการเดินระบบภายหลังแล้วก็ตาม เมื่อระบบสร้างเสร็จ ผู้เดินระบบจะเป็นส่วนสุดท้ายที่จะทำงานกับระบบตลอดไป
            - ค่าใช่จ่ายในการเดินระบบเกินความจำเป็นหรือไม่เพราะสิ่งเหล่านี้มากเกินไป ระบบที่ออกแบบมาดีแต่ค่าดำเนินการแพง อาจเป็นเพียงบ่อน้ำก็เป็นได้
          รู้เรา
            - ก่อนที่จะออกแบบ ผู้ออกแบบมีข้อมูลคุณลักษณะของน้ำเสีย/ปริมาณน้ำเสีย มากน้อยเพียงใดเพราะไม่มีระบบใดสามารถบำบัดน้ำเสียได้ทุกชนิด
            - ระบบบำบัดน้ำเสียที่ดี จะต้องรองรับน้ำเสียจนถึงปีเป้าหมายของระบบ เช่น 20 ปีสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ดังนั้นจะต้องมีการพิจารณาให้ระบบสามารถทำงานได้ดี
            - ระบบที่เลือกใช้เหมาะสมที่สุดแล้วหรือยัง เพราะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสียมากมาย เราในฐานะผู้ออกแบบควรคัดเลือกสิ่งที่ดีเหมาะสมที่สุดให้กับเจ้าของงาน
            - การเลือกใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในระบบ ควรคำนึงถึงอายุการใช้งานและการบริการหลังการขาย ควรจัดการทำข้อมูลเอกสาร เช่น แบบรายละเอียด ทำการคำนวณระบบข้อกำหนดหรือมาตรฐานของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช่ในการบำบัด คู่มือการเดินระบบปริมาณงานและวัสดุเพื่อให้เจ้าของระบบเก็บไว้เป็นข้อมูล เพราะในอนาคตระบบที่ก่อสร้างไว้อาจจำเป็นต้องปรับปรุง เพื่อผู้ที่มาปรับปรุงจะได้มีข้อมูลการออกแบบเดิมไว้ทำการศึกษา
            ในอดีต ระบบบ่อปรับเสถียร(waste Stabilization Pond) เป็นระบบที่เลือกใช้มากโดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียในชุมชนเพราะมีค่าใช่จ่ายในการเดินระบบต่ำแต่เปลืองพื้นที่ ส่วนระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนขนาดใหญ่หรือเทศบาลนิยมใช้ระบบบ่อเติมอากาศเพราะใช้พื้นที่ไม่มากแต่ค่าใช้จ่ายสูงเช่น พื้นที่กรุงเทพสองระบบที่กล่าวมาไม่เหมาะสมระบบส่วนใหญ่จึงเป็นระบบตะกอนเร่งหรือที่เรียกสั้นๆว่า ระบบ เอเอส ซึ่งใช้พื้นที่น้อยแต่ค่าใช้จ่ายสูง
            สำหรับรูปแบบการบำบัดอื่นๆ เช่น ระบบโปรยกรอง ระบบคลองเวียนวน ระบบอาร์บีซี มีการออกแบบใช้งานบ้างแต่ช่วงหลังนิยมใช้มาก จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ เอสบีอาร์ จึงช่วยลดพื้นที่รองรับน้ำเสียได้ดีต่อเนื่อง และยังมีระบบยูเอสบี นิยมใช่กับน้ำที่มีความสกปรกสูง
            ดังนั้น การเลือกรูปแบบของระบบ ขนาดอัตราการบำบัด การแบ่งระยะการก่อสร้าง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ออกแบบระบบน้ำเสียควรพิจารณา
          ผู้ก่อสร้างระบบ
            .ผู้ก่อสร้างระบบ จะเป็นผู้ทำให้งานออกมาดีตรงตามที่ออกแบบได้ออกแบบ ไว้ซึ่งสามารถก่อสร้างได้ตรงตามที่ออกแบบ ระบบที่ก่อสร้างก็จะมีโอกาสทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ          
รู้เขา
            - ก่อนการก่อสร้างควรจะทำความเข้าใจกับแบบก่อสร้างที่ได้รับมาหากมีส่วนใดที่สงสัยควรศึกษาผู้ควบคุมงาน
            - เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในระบบ จะตองมีการสั่งซื้อและใช้ระยะเวลาในการสั่งของและขนส่งนานเท่าไร
            - ควรมีการศึกษาสภาพพื้นที่ ที่ใช้ในการก่อสร้างก่อนว่า จะมีปัญหาในการก่อสร้างหรือไม่
รู้เรา
          - ก่อนที่จะก่อสร้างควรทำความเข้าใจกับแบบก่อสร้างก่อน
            - ควรเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรให้พร้อมใช้งาน
            - การเตรียมงานก่อสร้างที่จำเป็น เพราะงานบำบัดน้ำเสียหากวางแผนงานไม่ดีจะเป็นกับดักได้
            - ควรเตรียมบุคลากรให้พร้อม และควรเน้นเรื่องความปลอดภัย
            - ควรจัดทำเอกสารส่งมอบงานเมื่อก่อสร้างโครงการเสร็จแล้ว
            ในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย หากผู้รับเหมามีการวางแผนที่ดีมีความรู้ความเชี่ยวชาญในงาน จะทำให้งานก่อสร้างนั้นดำเนินไปได้รวดเร็วแต่ถ้าหากผู้รับเหมาไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ก็จะพบแต่ความยุ่งยากจนกลายเป็นงานหินได้

          ส่วนที่ 3 ผู้เดินระบบ
            ผู้เดินระบบ จะเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามที่มาตรฐานกำหนดหรือตามค่าที่ออกแบบไว้
          รู้เขา
            - ควรมีการทำความเข้าใจกับระบบและแบบก่อสร้าง ที่ได้รับมาหากมีการแก้ไขแบบจะต้องมีข้อมูลการแก้ไขแบบ
            - เครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบ ผู้รับเหมาจัดหามาใส่ในระบบมีการรับประกันเครื่องจักร
            - ควรหาความรู้ด้านการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม
รู้เรา
            - ควรมีการประเมินความรู้ความสามารถของตนเองว่า มีความรู้ความสามารถมากน้อยเพียงใด
            - ควรมีการเพิ่มพูนความรู้ของตนเอง โดยการเข้าร่วมฝึกอบรมโครงการต่างๆ
            - ควรมีการจดบันทึกการทำงานของระบบอย่างต่อเนื่อง เช่น บันทึกการทำงานของเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ
              เชื่อมั่นได้เลยว่า หากระบบบำบัดน้ำเสียใดที่มี การออกแบบที่ดี ก่อสร้างดี และมีผู้เดินระบบดี ระบบบำบัดน้ำเสียแห่งนั้น จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งานของระบบ

ตอนที่ 3
          การผลิตเยื่อและกระดาษจาดวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อนงานหัตกรรม
            กระดาษหัตกรรมที่ผลิตจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย หรือเหลือใช้ในท้องถิ่นอย่างเช่น ใบสับปะรด ฟางข้าว ต้นกล้วย เปลือกข้าวโพด หญ้าคา และกระดาษปอสานั้น นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนและกลุ่มแม่บ้าน ในหลายท้องถิ่น บางแห่งกลายเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อของท้องถิ่นเลยทีเดียวอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ ชาวบ้านยังขาดความรู้พื้นฐานในการผลิตเยื่อ การฟอกเยื่อ และการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษ ทำให้ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ได้มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เกิดการสิ้นเปลืองสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต และส่งผลเสยต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กลุ่มเยื่อกระดาษโครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การผลิตเยื่อกระดาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่องานหัตกรรม” ขึ้นทั้งนี้ ก็เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากร ของท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตกระดาษหัตกรรมได้อย่างถูกต้อง โดยใช้สารเคมีที่ไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถผลิตกระดาษที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของลูกค้า ถือเป็นหนทางการสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับท้องถิ่นนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น