วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรม

ความหมายของนวัตกรรม
          “นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
      นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
          คำว่า นวัตกรรมเป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า นวกรรมต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็นนวัตกร” (Innovator)    (boonpan edt01.htm)
          ทอมัส ฮิวซ์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น
(Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
          มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
          ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521: 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
          จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
           นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
          “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ตอนที่ 3
          การผลิตเยื่อและกระดาษจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อนงานหัตถกรรม
            กระดาษหัตกรรมที่ผลิตจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย หรือเหลือใช้ในท้องถิ่นอย่างเช่น ใบสับปะรด
ฟางข้าว ต้นกล้วย เปลือกข้าวโพด หญ้าคา และกระดาษปอสานั้น นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนและกลุ่มแม่บ้าน ในหลายท้องถิ่น บางแห่งกลายเป็นผลิตภัณฑ์
OTOP ขึ้นชื่อของท้องถิ่นเลยทีเดียวอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ ชาวบ้านยังขาดความรู้พื้นฐานในการผลิตเยื่อ
การฟอกเยื่อ และการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษ ทำให้ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ได้มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เกิดการสิ้นเปลืองสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต และส่งผลเสยต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กลุ่มเยื่อกระดาษโครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การผลิตเยื่อกระดาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่องานหัตกรรม” ขึ้นทั้งนี้ ก็เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากร ของท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตกระดาษหัตกรรมได้อย่างถูกต้อง โดยใช้สารเคมีที่ไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถผลิตกระดาษที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของลูกค้า ถือเป็นหนทางการสร้างงานสร้างอาชีพและรายได้ให้กับท้องถิ่นนั่นเอง

สารคดีชุด 30 ปี กระทรวงวิทย์ คิดเพื่อคนไทย
การบำบัดน้ำเสียกับกลยุทธ์ รู้เขา-รู้เรา
บทนำ
            การพูดถึงระบบบำบัดน้ำเสีย จะมีตัวละครหลัก 3 ส่วน ได้แก่ ผู้ออกแบบระบบ ผู้ก่อสร้างระบบ และผู้เดินระบบ ในส่วนของผู้ชมได้แก่ เจ้าของโครงการ ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ(กฎหมาย/ข้อกำหนด/มาตรฐานต่างๆ) และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ของตัวละครทั้ง 3 ตัว
            ผู้ออกแบบออกแบบระบบได้ดีแต่ผู้ก่อสร้างก่อสร้างระบบไม่ดีระบบก็ไม่สามารถทำงานได้ดี
            ผู้ออกแบบออกแบบระบบไม่ดี ถึงผู้ก่อสร้างจะสร้างได้ดีเพียงใด ระบบก็ยากที่จะทำงานได้ดี
            ระบบออกแบบดี ก่อสร้างดี แต่ผู้เดินระบบไม่ดี ระบบก็ไม่สามารถทำงานได้ดี
            ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียจะทำการได้ดีมีประสิทธิภาพ ระบบนั้นจะต้องมีการออกแบบที่ดีก่อสร้างที่ดีและมีผู้เดินระบบที่ดีด้วย โดยจะขออธิบายว่า การออกแบบดี ก่อสร้างดี เดินระบบดี เป็นอย่างไร โดยใช้กลยุทธ์สงครามจากนักปราชญ์ท่านหนึ่งที่ได้กล่าวไว้ว่า รู้จักรศัตรูและรู้จักรตนเอง รบร้อยครั้งก็ชนะร้อย         ครั้ง แต่งานด้านบำบัดน้ำเสียคงไม่มีสงครามและศัตรูเลยขอเปลี่ยนเป็น รู้จักรเขา-รู้จักรเราแทน รู้เขาก็คือ รู้จักรคนอื่นที่ไม่ใช่เรา รู้จักรเราคือรู้จักรตนเอง
 ผู้ออกแบบ
            ผู้ออกแบบ เปรียบเหมือนผู้เริ่มต้นงาน เพราะเป็นส่วนที่คิดวางแผนและออกแบบ สามารถเลือกระบบน้ำเสียแบบใดหรือแก่ไขในส่วนใดก็สามารถทำได้โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงแบบน้อยที่สุดเพราะยังไม่ได้ก่อสร้างจริงแบบทั้งหมดยังอยู่ในกระดาษหรือคอมพิวเตอร์แต่จะสูญเสียเวลา   
          รู้เขา
            - ผู้ออกแบบหากจะทำการออกแบบระบบใดระบบหนึ่ง ต้องมีการพิจารณาว่าระบบที่ออกแบบไปจะไปก่อสร้างที่ไหน มีระบบไฟฟ้าสาธารณูปโภคเป็นอย่างไร เช่น ระบบจะไปก่อสร้างในที่หางไกลไฟฟ้าในพื้นที่ไม่เพียงพอ ดังนั่นระบบที่จะออกแบบจะต้องเป็นระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยและใช่เท่าที่จำเป็น
            - ทิศทางลมบริเวณก่อสร้างระบบบำบัดเป็นอย่างไร พัดไปในทิศทางที่มีชุมชนอยู่ท้ายลมหรือไม หากเจอปัญหาด้านนี้ก็อาจต้องย้ายที่ตั้งระบบไปอยู่บริเวณอื่นและต้องส่งผลกระทบด้านกลิ่นให้น้อยที่สุดแล้วควรปลูกพืชบังแนวลมบริเวณระบบบำบัด
            - จุดทิ้งน้ำหลังบำบัด จะอยู่ที่ไหนหรือใกล้จุดสูบน้ำดิบเผื่อผลิตน้ำประปาของชุมชนหรือไม่ คงไม่ดีแน่หากเป็นเช่นนั้นควรเลือกสถานที่หรือจุดบำบัดน้ำทิ้งใหม่
            - ระบบจะก่อสร้างโดยใคร มีเครื่องจักรหรือเทคนิคก่อสร้างเพียงพอหรือไม่เพราะหากผู้รับเหมาไม่มีศักยภาพในการทำงานเพียงพอ แบบที่ออกไว้จะไม่สามารถทำงานได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงก่อสร้างเต็มไปหมดเพราะก่อสร้างตามแบบไม่ได้ หากผู้ออกแบบพิจารณาประเด็นนี้ไว้ก่อนคงไม่มีปัญหาในส่วนนี้
            - ใครจะเป็นคนเดินระบบหลังก่อสร้างเสร็จ ถึงแม้จะมีคู่มือระบบและการอบรมวิธีการเดินระบบภายหลังแล้วก็ตาม เมื่อระบบสร้างเสร็จ ผู้เดินระบบจะเป็นส่วนสุดท้ายที่จะทำงานกับระบบตลอดไป
            - ค่าใช่จ่ายในการเดินระบบเกินความจำเป็นหรือไม่เพราะสิ่งเหล่านี้มากเกินไป ระบบที่ออกแบบมาดีแต่ค่าดำเนินการแพง อาจเป็นเพียงบ่อน้ำก็เป็นได้
          รู้เรา
            - ก่อนที่จะออกแบบ ผู้ออกแบบมีข้อมูลคุณลักษณะของน้ำเสีย/ปริมาณน้ำเสีย มากน้อยเพียงใดเพราะไม่มีระบบใดสามารถบำบัดน้ำเสียได้ทุกชนิด
            - ระบบบำบัดน้ำเสียที่ดี จะต้องรองรับน้ำเสียจนถึงปีเป้าหมายของระบบ เช่น 20 ปีสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ดังนั้นจะต้องมีการพิจารณาให้ระบบสามารถทำงานได้ดี
            - ระบบที่เลือกใช้เหมาะสมที่สุดแล้วหรือยัง เพราะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสียมากมาย เราในฐานะผู้ออกแบบควรคัดเลือกสิ่งที่ดีเหมาะสมที่สุดให้กับเจ้าของงาน
            - การเลือกใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในระบบ ควรคำนึงถึงอายุการใช้งานและการบริการหลังการขาย ควรจัดการทำข้อมูลเอกสาร เช่น แบบรายละเอียด ทำการคำนวณระบบข้อกำหนดหรือมาตรฐานของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช่ในการบำบัด คู่มือการเดินระบบปริมาณงานและวัสดุเพื่อให้เจ้าของระบบเก็บไว้เป็นข้อมูล เพราะในอนาคตระบบที่ก่อสร้างไว้อาจจำเป็นต้องปรับปรุง เพื่อผู้ที่มาปรับปรุงจะได้มีข้อมูลการออกแบบเดิมไว้ทำการศึกษา
            ในอดีต ระบบบ่อปรับเสถียร(waste Stabilization Pond) เป็นระบบที่เลือกใช้มากโดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสียในชุมชนเพราะมีค่าใช่จ่ายในการเดินระบบต่ำแต่เปลืองพื้นที่ ส่วนระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนขนาดใหญ่หรือเทศบาลนิยมใช้ระบบบ่อเติมอากาศเพราะใช้พื้นที่ไม่มากแต่ค่าใช้จ่ายสูงเช่น พื้นที่กรุงเทพสองระบบที่กล่าวมาไม่เหมาะสมระบบส่วนใหญ่จึงเป็นระบบตะกอนเร่งหรือที่เรียกสั้นๆว่า ระบบ เอเอส ซึ่งใช้พื้นที่น้อยแต่ค่าใช้จ่ายสูง
            สำหรับรูปแบบการบำบัดอื่นๆ เช่น ระบบโปรยกรอง ระบบคลองเวียนวน ระบบอาร์บีซี มีการออกแบบใช้งานบ้างแต่ช่วงหลังนิยมใช้มาก จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ เอสบีอาร์ จึงช่วยลดพื้นที่รองรับน้ำเสียได้ดีต่อเนื่อง และยังมีระบบยูเอสบี นิยมใช่กับน้ำที่มีความสกปรกสูง
            ดังนั้น การเลือกรูปแบบของระบบ ขนาดอัตราการบำบัด การแบ่งระยะการก่อสร้าง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ออกแบบระบบน้ำเสียควรพิจารณา
          ผู้ก่อสร้างระบบ
            .ผู้ก่อสร้างระบบ จะเป็นผู้ทำให้งานออกมาดีตรงตามที่ออกแบบได้ออกแบบ ไว้ซึ่งสามารถก่อสร้างได้ตรงตามที่ออกแบบ ระบบที่ก่อสร้างก็จะมีโอกาสทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ          
รู้เขา
            - ก่อนการก่อสร้างควรจะทำความเข้าใจกับแบบก่อสร้างที่ได้รับมาหากมีส่วนใดที่สงสัยควรศึกษาผู้ควบคุมงาน
            - เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในระบบ จะตองมีการสั่งซื้อและใช้ระยะเวลาในการสั่งของและขนส่งนานเท่าไร
            - ควรมีการศึกษาสภาพพื้นที่ ที่ใช้ในการก่อสร้างก่อนว่า จะมีปัญหาในการก่อสร้างหรือไม่
รู้เรา
          - ก่อนที่จะก่อสร้างควรทำความเข้าใจกับแบบก่อสร้างก่อน
            - ควรเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรให้พร้อมใช้งาน
            - การเตรียมงานก่อสร้างที่จำเป็น เพราะงานบำบัดน้ำเสียหากวางแผนงานไม่ดีจะเป็นกับดักได้
            - ควรเตรียมบุคลากรให้พร้อม และควรเน้นเรื่องความปลอดภัย
            - ควรจัดทำเอกสารส่งมอบงานเมื่อก่อสร้างโครงการเสร็จแล้ว
            ในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย หากผู้รับเหมามีการวางแผนที่ดีมีความรู้ความเชี่ยวชาญในงาน จะทำให้งานก่อสร้างนั้นดำเนินไปได้รวดเร็วแต่ถ้าหากผู้รับเหมาไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ก็จะพบแต่ความยุ่งยากจนกลายเป็นงานหินได้

          ส่วนที่ 3 ผู้เดินระบบ
            ผู้เดินระบบ จะเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามที่มาตรฐานกำหนดหรือตามค่าที่ออกแบบไว้
          รู้เขา
            - ควรมีการทำความเข้าใจกับระบบและแบบก่อสร้าง ที่ได้รับมาหากมีการแก้ไขแบบจะต้องมีข้อมูลการแก้ไขแบบ
            - เครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบ ผู้รับเหมาจัดหามาใส่ในระบบมีการรับประกันเครื่องจักร
            - ควรหาความรู้ด้านการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม
รู้เรา
            - ควรมีการประเมินความรู้ความสามารถของตนเองว่า มีความรู้ความสามารถมากน้อยเพียงใด
            - ควรมีการเพิ่มพูนความรู้ของตนเอง โดยการเข้าร่วมฝึกอบรมโครงการต่างๆ
            - ควรมีการจดบันทึกการทำงานของระบบอย่างต่อเนื่อง เช่น บันทึกการทำงานของเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ
              เชื่อมั่นได้เลยว่า หากระบบบำบัดน้ำเสียใดที่มี การออกแบบที่ดี ก่อสร้างดี และมีผู้เดินระบบดี ระบบบำบัดน้ำเสียแห่งนั้น จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งานของระบบ

ตอนที่ 3
          การผลิตเยื่อและกระดาษจาดวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อนงานหัตกรรม
            กระดาษหัตกรรมที่ผลิตจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย หรือเหลือใช้ในท้องถิ่นอย่างเช่น ใบสับปะรด ฟางข้าว ต้นกล้วย เปลือกข้าวโพด หญ้าคา และกระดาษปอสานั้น นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนและกลุ่มแม่บ้าน ในหลายท้องถิ่น บางแห่งกลายเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อของท้องถิ่นเลยทีเดียวอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ ชาวบ้านยังขาดความรู้พื้นฐานในการผลิตเยื่อ การฟอกเยื่อ และการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษ ทำให้ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ได้มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เกิดการสิ้นเปลืองสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต และส่งผลเสยต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กลุ่มเยื่อกระดาษโครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การผลิตเยื่อกระดาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่องานหัตกรรม” ขึ้นทั้งนี้ ก็เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากร ของท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตกระดาษหัตกรรมได้อย่างถูกต้อง โดยใช้สารเคมีที่ไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถผลิตกระดาษที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของลูกค้า ถือเป็นหนทางการสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับท้องถิ่นนั่นเอง
บทความวิชาการ  เล่มที่  3  เทคโนโลยีและนวัตกรรม
การนำซอฟต์แวร์รหัสเปิด  ()pen  Source  Software)  มาใช้กับองค์กร
1.               บทนำ
ในปัจจุบันองค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน  จะมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้สนับสนุน  ซึ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารกับผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการ  และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เหมาะสมกับงาน
จากแผนการตลาดที่ดีเยี่ยมของบริษัทผู้ผลิตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์ชั้นนำของโลก  ทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนมากติดอยู่กับการใช้งานระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่เคยชินจำเป็นต้องจัดเตรียมระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อใช้ในการทำงาน  ซึ่งทั้งระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์  องค์การหรือหน่วยงานที่มีนักพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์จึงหันมาให้ความสนใจกับซอฟต์แวร์รหัสเปิดเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายนั้นและยังสามารถพัฒนาให้เหมาะสมกับงานหรือธุรกิจได้อย่างดีอีกด้วย
2.               รหัสเปิด (Open  Source)
รหัสเปิดมีแนวคิดและพัฒนาโดยอาศัยความร่วมมือของนักพัฒนาทั่วโลกเพื่อโลกสร้างซอฟต์แวร์คุณภาพดีขึ้น  น่าเชื่อถือขึ้น  ยืดหยุ่นขึ้น  ค่าใช้จ่ายน้อยลง  ไม่ต้องยึดติดกับผู้ขายรายใด  และผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มีสิทธิ์ในการใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างแท้จริง
ปัจจุบันหน่วยงานหรือองค์กรที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนเรื่องรหัสเปิด  เช่น  SIPA  (Software  Industry  Promotion  Agency)  หรือสมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย  ได้จัดสัมมนาและการอบรม  พร้อมทั้งจัดทำซอฟต์แวร์ประเภทรหัสเปิดแจกจ่ายหรือจำหน่ายในราคาถูกให้กับหน่วยงานและบุคคลที่สนใจ  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถทางด้านรหัสเปิดมากขึ้น
3.               ข้อดีของรหัสเปิด
1.             เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์  สามารถ  Download  ทาง  Internet  ได้
2.             มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานจากนักพัฒนาระบบทั่วโลก  หากพบปัญหาในการใช้งานหรือมีส่วนที่ต้องการเพิ่มขึ้น  สามารถส่งข้อคิดเห็นให้ทีมพัฒนาระบบได้
3.             เปิดโอกาสให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ให้เหมาะกับงานได้โดยผู้ใช้งาน
4.             มีตัวเลือกซอฟต์แวร์มาก  เนื่องจากกระแส  Open  Source  ในปัจจุบันมาแรงมากจึงมีทีมพัฒนาและนักพัฒนาหน้าใหม่เกิดขึ้นเยอะมาก  กลุ่มคนหรือบุคคลเหล่านี้จึงได้ปล่อยซอฟต์แวร์ที่พัฒนานี้ให้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
5.             มีความเสถียรสูง
6.             โครงสร้างการทำงานของซอฟต์แวร์มีความทนทานและยืดหยุ่นสูง
7.             แหล่งข้อมูลสำหรับนักพัฒนาปัจจุบันมีมากขึ้น

4.              การใช้งานรหัสเปิด
การนำซอฟต์แวร์รหัสเปิดมาใช้งานในปัจจุบัน  มีอยู่หลากหลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้งานในองค์กรโดยตรง  หรือการพัฒนาโซลูชันด้วยต้นเอง  การนำซอฟต์แวร์รหัสเปิดไปใช้งานนี้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  PC  และเครื่องคอมพิวเตอร์  Server  ได้ เนื่องจากซอฟต์แวร์รหัสเปิดได้ถูกพัฒนามาจากหลาย ๆ  หน่วยงาน  การนำไปใช้งานจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของงานกับ  Version  ของซอฟต์แวร์ด้วย
5.              การใช้งานบนเว็บ  (Web  Based  Application)
การใช้งานบนเว็บ  ถือว่าเป็นรหัสเปิดที่มีความนิยมสูง  จากความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบเครื่อข่าย  Internet  ความสะดวกสบายในการเข้าใช้งานจากทุกสถานที่ที่สามารถเชื่อมต่อ  Internet  ได้ เนื่องจากสามารถทำงานผ่านทางโปรแกรมประเภท  Web  Browsers  และการเรียนรู้โปรแกรมภาษาที่ไม่ซับซ้อนมากนัก  ทำให้มีนักพัฒนาให้ความสนใจกับการใช้งานบนเว็บจำนวนมาก
6.               Web  Open  Source 
1.        Web  Open  Source  คือ  code  ที่ทีมนักพัฒนาได้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้ผู้สนใจสามารถ  Download  ไปใช้ได้ฟรี
2.       ข้อดีของ  Web  Open  Source  คือสามารถนำไปใช้งานได้ง่าย  และมีประสิทธิภาพสูง  ไม่ต้องออกแบบพัฒนาเอง  มีโมดูลต่าง ๆ  ให้เลือกใช้ติดตั้งและดูแลรักษาง่าย
3.       มีข้อเสียของ  Web  Open  Source  คือข้อจำกัดในการใช้งานระบบที่อาจจะไม่ตรงตามความต้องการทั้งหมด  มีคสามารถไม่ครบ  และมีรูปแบบหรือระบบที่ไม่ซ้ำกับเว็บอื่น
4.       ประเภทของ  Web Open  Source  สามารถแบ่งออกได่หลายประเภทตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

7.               การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิดในองค์กร
จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าซอฟต์แวร์รหัสเปิด  สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรหรือหน่วยงานได้ในหลาย ๆ ส่วน  เริ่มตั้งแต่การใช้งานระบบปฏิบัติการที่เป็นรหัสเปิด เช่น  Linux  หรือ  Ubantu  ทั้งใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  และลูกข่าย  หรือการใช้งาน  Open  Office  แทน  Microsoft  Office  จนถึงการใช้งาน  Web  Open  Source  ที่สามารถ  Download  ได้จาก  Website  ของทีมงานผู้พัฒนา  หรือการพัฒนา  Web  Bases  Applications  ขึ้นมาเองให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
8.               ปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์รหัสเปิด
1.        การศึกษาและพัฒนารหัสเปิด  แม้รหัสเปิดจะได้รับความนิยม  แต่กลุ่มผู้ที่นิยมและกลุ่มนักพัฒนายังน้อยมาก  และนักพัฒนาบางคนหันไปทำรหัสเปิดในทางการค้า  เมื่อพัฒนาแล้วไม่ได้นำไปเผยแพร่ต่อ  ทำให้นักพัฒนาหน้าใหม่ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาและพัฒนารหัวเปิดพอสมควร
2.       ทีมงานหรือนักพัฒนารหัสเปิดเป็นปัจจัยสำคัยในการศึกษาและพัฒนารหัสเปิด  พร้อมทั้งนำเสนอข้อดีข้อเสียของรหัสเปิดให้กับองค์กร
3.       ความเคยชินของผู้ใช้งานซอฟต์แวร์  เมื่อต้องเปลี่ยนมาใช้รหัสเปิด  จะไม่เคยชินในการทำงาน  ทำให้งานที่ดำเนินการอยู่ล่าช้า  ส่วนนี้ถูกใช้เป็นเหตุผลทำให้หลาย ๆ หน่วยงานต้องกลับมาใช้ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ต่อไป
จากปัจจัยเบื้องต้นที่กล่าวมา  ทำให้หน่วยงานสนใจในรหัสเปิดได้เพียงใช้งานซอฟต์แวร์รหัสเปิดที่ถูกพัฒนามาสำเร็จแล้ว  เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของลิขสิทธิ์ที่ใช้งานอยู่