วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553
ปรัชญาปฏิบัตินิยม
ปรัชญาปฏิบัตินิยม
ปรัชญาปฏิบัตินิยม (Pragmatism) เป็นความคิดที่แพร่หลายทั่วไป ในวงการปรัชญาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เป็นแนวความคิดของนักปราชญ์กรีกโบราณและนักปราชญ์สมัยใหม่
บางคน จึงตีความได้ว่าความคิดของนักปราชญ์เหล่านั้นจะเป็นต้นแบบของปรัชญาปฏิบัตินิยมได้ นักปราชญ์ที่สำคัญนั้นได้แก่
บางคน จึงตีความได้ว่าความคิดของนักปราชญ์เหล่านั้นจะเป็นต้นแบบของปรัชญาปฏิบัตินิยมได้ นักปราชญ์ที่สำคัญนั้นได้แก่
1. เฮราคลิตุส (Heraclitus) การเปลี่ยนแปลงและการแปรสภาพเท่านั้นที่เป็นจริง ทุกสิ่งในจักรวาลเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบและรูปร่างใหม่ๆ ตลอดเวลา
2. โลฟิสต์ (The Sophists) สอนให้พลเมืองของเอเธนส์ก้าวไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ในรัฐ พวกเขาจะสอนโดยการคิดค่าเล่าเรียน
3. ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) ความรู้ทั้งหลายที่มีมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงสมัยของเขาเป็นลักษณะการยอมรับความคิดหรือความรู้เดิม แทนที่จะเป็นวิธีการสำรวจค้นคว้าซึ่งจะทำให้ความรู้ใหม่
4. โอกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) วิวัฒนาการความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ว่าเป็นไปตามลำดับขั้น 3 ขั้น ดังนี้
4.1 ขั้นเทววิทยา
4.2 ขั้นอภิปรัชญา
4.3 ขั้นปฏิฐาน
เราจะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของระบบความคิดแบบปฏิบัตินิยมเป็นระบบความคิดที่ใหม่เอี่ยม เพราะแนวความคิดของอเมริกันนั้นแท้ที่จริงก็รับเอาความคิดแบบยุโรปเข้ามา รับทั้งภาษา กฎหมาย
หลักศีลธรรม และศาสนา แต่ก็ได้พยายามปรับให้เข้ากับสภาพชีวิตใหม่ ในดินแดนใหม่
หลักศีลธรรม และศาสนา แต่ก็ได้พยายามปรับให้เข้ากับสภาพชีวิตใหม่ ในดินแดนใหม่
สำหรับแนวความคิดของนักปราชญ์ที่สำคัญยังมีอีกหลายคนซึ่งแต่ละคนก็มีแนวความคิดที่แตกต่างกันไป ซึ่งได้แก่
1. ชาร์ลส์ แซนเดอรส์ เพิร์ซ
1.1 ประวัติและผลงาน เพิร์ซเกิดที่เคมบริดจ์ รัฐแมสซาจูเซต เป็นบุตรชายคนที่สองของเบนจามิน เพิร์ซ ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมก็ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้รับปริญญาทางเคมี เพิร์ซได้เข้าร่วมเป็นคณะผู้ทำงานใน The United Coastal and Geodesic Survey และ ณ ที่นี้ เพิร์ซใช้เวลาในการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญา เขาได้เริ่มอ่านผลงานของนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงและได้เป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่มหาวิทยาลัยที่เขาเรียน จากนั้นก็ได้สอนวิชาตรรกวิทยาที่มหาวิยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ เมื่อเขาออกจากงานประจำ ก็ได้เรียบเรียงผลงานการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา งานที่สำคัญของเขาที่ได้รับการจัดพิมพ์มีทั้งหมด 8 เล่ม
1.2 ทฤษฎีความจริง ทฤษฎีความจริงของเขามิได้เป็นไปตามความหมายที่กล่าวมาข้างต้น เขากล่าวถึงความจริงไว้ว่ามีหลายประเภท เช่น ความจริงที่อยู่พ้นประสาทสัมผัส ซึ่งได้แก่ ความจริงเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามสภาพที่มันเป็นอยู่ ประโยคอีกประเภทหนึ่งที่เพิร์ซเห็นว่าไม่สามารถมั่นใจได้แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์หรือเท็จ คือ ประโยคที่มีสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ ประโยคที่เป็นสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นจริงโดยที่ไม่อาจมั่นใจหรือยืนยันได้อย่างแน่นอน แต่จะมีระดับของความน่าเชื่อหรือความเป็นไปได้ที่แตกต่างกันไป
1.3 ทฤษฎีความสงสัยและความเชื่อถือ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการหาความรู้ เพิร์ซเริ่มต้นปฏิเสธทฤษฎีความสงสัยของเดการ์ต จนกระทั่งในที่สุดจึงพบว่ามีสิ่งมีชีวิตที่เราสงสัยไม่ได้ ในการอธิบายความสงสัยและความเชื่อ เขาเห็นว่าสิ่งมีชีวิต (มนุษย์) จำเป็นต้องพัฒนานิสัย ให้เหมาะสมเพียงพอที่จะสนองความต้องการจำเป็นของตน เพื่อที่จะทำให้ตนเองมีชีวิตอยู่รอดได้
1.4 วิธีทำให้ความคิดแจ่มแจ้ง การพัฒนาความหมายของความคิดให้แจ่มแจ้งนั้น จะต้องกำหนดนิสัยซึ่งนำไปสู่การกระทำ และจุดประสงค์ของการกระทำทุกครั้งคือ ก่อให้เกิดผลที่เป็นไปได้ตามมา ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่รับรู้ได้โดยประสาทสัมผัสและเป็นไปทางปฏิบัติ เป็นรากฐานของความคิดที่แจ่มแจ้ง
2. วิลเลียม เจมส์
2.1 ประวัติและผลงาน วิเลียม เจมส์เกิดที่นิวยอร์ค เป็นบุตรของเฮนรี เจมส์ ซีเนียร์ ได้รับการศึกษาทั้งในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป มีความสามารถทางด้านภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันด้วย ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับปริญญาทางการแพทย์ เป็นอาจารย์สอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาที่ฮาร์วาร์ด ผลงานที่สำคัญคือ จิตวิทยาเรื่อง Principle of Psychology ความยาว 2 เล่ม
2.2 ปัญญาอภิปรัชญา อภิปรัชญาเป็นศาสตร์ของสิ่งที่เป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างกับสิ่งที่เป็นจริง การทำให้ปัญหาแต่ละปัญหาเหล่านั้นกระจ่างแจ้ง และยุติข้อโต้แย้งลงได้
2.3 ปฏิบัตินิยม วิธีการแบบปฏิบัตินิยมเป็นวิธีการเบื้องต้นในการยุติข้อโต้แย้งทางอภิปรัชญาซึ่งอาจจะไม่มีวันรู้จบได้ เช่น โลกเป็นหนึ่งหรือหลายหลาก ถูกกำหนดหรือเป็นอิสระ เป็นวัตถุหรือเป็นจิต ฯลฯ ความคิดเหล่านี้เพียงความคิดใดความคิดหนึ่งอาจไม่พอสำหรับอธิบายโลกได้และการโต้แย้งกันในเรื่องดังกล่าวนี้ก็ไม่มีทางยุติ
2.4 ความเป็นหนึ่งกับความหลายหลาก ความเป็นจริงสูงสุดของโลกเป็นหนึ่งหรือหลายหลาก เป็นปัญหาที่ไม่อาจยุติได้โดยง่าย ความเป็นหนึ่งกับความหลายหลากโดยวิธีของปฏิบัตินิยม ซึ่งจะทำให้เห็นว่าวิธีการแบบปฏิบัตินิยมสามารถอธิบาย หรือแก้ปัญหาที่สำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.5 ค่าทางจริยะ ความสามารถในการนำมาซึ่งความสุขสนองความต้องการได้อย่างน่าพอใจ แต่หลักนี้ก็มิได้เป็นกฎตายตัวที่กล่าวลอยๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์หรือการกระทำ จะใช้ได้เมื่อเรามีโอกาสกระทำกิจกรรมเสียก่อน และสิ่งที่สำคัญที่สุดของหลักปฏิบัตินิยมคือ วิธีการเพื่อนำไปสู่ผลที่ปรารถนา
2.6 ประสบการณ์ทางศาสนา บุคคลทั่วไปมักคิดถึงพระเจ้าในลักษณะที่เป็นสิ่งสัมบูรณ์ สถิตอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เช่น ในสรวงสวรรค์ แต่เจมส์เห็นว่าเราควรพยายามใช้วิธีการทุกวิธีเพื่อให้เกิดประสบการณ์ทางศาสนาเกี่ยวกับพระเจ้าให้มากที่สุด อาณาจักรของสิ่งที่มองไม่เห็นนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของสิ่งที่เป็นอุดมคติอันสูงส่ง แต่ขอให้เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลบางอย่างในโลกนี้ พระเจ้าและมนุษย์มีธุรกิจต้องกระทำร่วมกัน เพื่อทำให้ชีวิตของมนุษย์สมปรารถนา
3. จอห์น ดิวอี้
3.1 ประวัติและผลงาน เป็นนักปราชญ์ปฏิบัตินิยมที่มีชื่อเสียงต่อจากเพิร์ซและเจมส์ ดิงอี้เกิดที่เบอร์ลิงตัน รัฐเวอร์มอนต์ ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ เมื่อสำเร็จการศึกษาได้เป็นครูในโรงเรียนมัธยมในชนบทของเวอร์มอนต์ และเพนซิลเวเนีย และได้รับปริญญาเอก ดิวอี้เป็นอาจารย์สอนปรัชญาในมหาวิทยาลัยมิซิแกน ผลงานของดิวอี้มีมากมายหลายสาขา ทั้งทางด้านจิตวิทยา การศึกษา
จริยศาสตร์ และปรัชญา
จริยศาสตร์ และปรัชญา
3.2 ความคิดเรื่องปรัชญา หน้าที่ของปรัชญาตามความคิดของดิวอี้จึงกว้าง และไม่มีขอบเขตจำกัด ปรัชญาทำหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคม จึงอาจกล่าวได้ว่าโดยเนื้อหาแล้ว ปรัชญาคือ การปฏิบัติ นักปรัชญาไม่มีความจำเป็นต้องแข่งขันกับนักวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความจริงสูงสุดของจักรวาล
3.3 ธรรมชาตินิยม มนุษย์ต่างจากสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิตอื่นตรงที่มนุษย์มีปัญญาหรือความคิดไตร่ตรอง พฤติกรรมของมนุษย์มิได้เป็นไปแบบจักรวาลเหมือนวัตถุหรือเป็นไปตามสัญชาตญาณแบบสัตว์โลกทั่วไป แต่มีการวาดภาพในอนาคตซึ่งเกิดมาจากการใช้ปัญญาไตร่ตรอง เลือกสรรค์สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อจุดหมาย มนุษย์กระทำการต่างๆ อย่างมีจุดหมาย จุดหมายเป็นวิถีที่มนุษย์ปฏิบัติและตอบสนองต่อธรรมชาติซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมของตน การนึกถึงจุดหมายเป็นการใช้ความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ที่พัฒนาสูงกว่าสิ่งอื่นในธรรมชาติ
3.4 การศึกษากับทฤษฎีประสบการณ์ เป็นการบุกเบิกการศึกษาแบบก้าวหน้าอย่างแท้จริง โดยโยงไปสัมพันธ์กับความก้าวหน้าของสังคม การศึกษาแบบก้าวหน้าที่ปฏิบัติกันอยู่ในสหรัฐอเมริกาขณะนั้นยังมิได้เข้าถึงความหมายที่แท้จริง พยายามปฏิรูปการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นสิ่งที่แปลกและใหม่ในวงการศึกษาแบบก้าวหน้า
3.5 การศึกษากับสังคม การพัฒนาความนึกคิดและทัศนคติของผู้เยาว์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่สืบต่อกันไปและสำหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม การพัฒนานี้ไม่สามารถกระทำโดยปลูกฝังความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ โดยไม่เกี่ยวข้องกับอะไรเลย จำเป็นต้องผ่านตัวกลางคือ สภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาพแวดล้อมมีส่วนกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในฐานะที่เป็นมนุษย์ต้องมีความผูกพันกับกิจกรรมของคนอื่นเสมอ
3.6 ประชาธิปไตยกับการศึกษา คนเราต้องเผชิญหน้ากับปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่ตลอดเวลา และมักไม่ซ้ำรูปแบบกัน วิธีแก้ปัญหาก็มักจะหันกลับไปหาอดีต เสมือนหนึ่งว่ามีอดีตเป็นภาพจำลองของเหตุการณ์ปัจจุบัน มนุษย์ต้องนึกถึงการดัดแปลงความคิด คุณค่า ประเพณีในอดีต
ปรัชญาปฏิบัตินิยมเสนอความคิดที่แตกต่างกับปรัชญาลัทธิอื่นตรงที่เน้นผลทางปฏิบัติมากกว่าหลักการหรือทฤษฎีแต่การกล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่า หลักการไม่สำคัญคนเราจะแก้ปัญหาใดก็ตามได้ จำเป็นต้องรู้หลักการที่สำคัญเกี่ยวกับสิ่งนั้นก่อน ขณะเดียวกันก็สามารถนำหลักการหรือทฤษฎีนั้นนำมาใช้แก้ปัญหา ปรัชญาปฏิบัตินิยมมุ่งหมายให้คนเราคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากกว่าจะยึดติดกับทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งอย่างตายตัว เพราะในชีวิตจริงของคนเรานั้น บางครั้งก็ไม่สามารถหาความคิดที่เป็นแบบสำเร็จรูปที่สมบูรณ์พร้อม เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ได้ ดังนั้น การเปิดใจให้กว้างและพิจารณาจากหลายด้านอาจช่วยให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีค่ามากยิ่งขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)